วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่ 2

ให้นักศึกษาอ่าน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้

1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ

- หมวด 1 บททั่วไป
          มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
- หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
   ส่วนที่ 2 ความเสมอภาค
          มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
          การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางการหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
          มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
   ส่วนที่ 9 สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ
          มาตรา 55 บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอกับการยังชีพ ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ


 2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง

หมวดที่ 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
   ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
          มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
         ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิจากวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น 
         การจัดการศึกษาหรืออบรมขององค์กรวิชาชีพหรืเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน หรือการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ 
          มาตราที่ 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
          การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 

3.ประด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้  เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1. มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
2. อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง  และ
3. มีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง
         ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่นอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน  หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาน้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง  หรือมีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักร  ย่อมมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง
บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง  เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
1. เป็นภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
2. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
3. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
4. วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
 คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส
1. จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วยกรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้ ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไปสามารถดำเนินการจดทะเบียนสมรสได้ด้วยตนเอง
2. ไม่เป็นคนวิกลจริตหรือไร้ความสามารถ
3. ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดามารดา
4. ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
5. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
6. หญิงหม้ายจะสมรสใหม่เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วันเว้นแต่กรณี
      - คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
      -สมรสกับคู่สมรสเดิม
      -มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
      -ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
      -ชายหญิง ที่มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้


4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย

          เนื่องจากประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ ซึ่งตามมาตรา 6 ได้กำหนดไว้ว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันบังคับใช้ไม่ได้ ดังนั้นเราในฐานะที่เป็นชาวไทย เราก็ควรที่จะรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง เพื่อจะได้ปฏิบัติตามกฎรัฐธรรมนูญอย่างถูกต้อง และเพื่อรักษาความมีระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข

          สำหรับตัวดิฉันเองก็มีความเห็นด้วยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้าหากจุดประสงค์ที่แท้จริงของการแก้ไขการแก้รัฐธรรมนูญนั้นจะทำเพื่อพัฒนาประเทศและเพื่อประโยชน์ส่วนรวม มิใช่เพียงแค่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องใช้เหตุผลและความบริสุทธิ์ใจจริง ที่สำคัญไปกว่านั้นการตระหนักถึงผลลัพธ์ที่จะเกดขึ้นว่าจะเป็นไปในทิศทางใด จะสังเกตได้ว่าถ้าหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะต้องมีผู้คัดค้านอยู่เสมอนั้นแสดงให้เห็นถึงปัญหาหลายด้าน บางกลุ่มก็คัดค้านเพื่อรักษาความถูกต้อง บางกลุ่มก็คัดค้านเพื่อหวังผลประโยชน์ ดังนั้นการแก้รัฐธรรมนูญถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ควรมีความตระหนักที่แท้จริง

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว 

          จะเห็นได้ว่าอำนาจทั้ง 3 อำนาจนั้นมีความสำคัญมากเท่าเทียมกัน ซึ่งจะต้องมีความสมดุลกัน แต่ที่เราเห็นได้ชัดเจน คือ ปัญหาที่เกิดในรัฐสภา ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ซ้ำซาก การกระทำบางอย่างก็ยังขาดความมีคุณธรรม จริยธรรม สภาผู้แทนราษฎรยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของกฎเกณฑ์ การปฏิบัติหน้าที่ก็ยังไม่สนองความต้องการของประชาชนอย่างสมบูรณ์ สภานิติบัญญัติก็ยังขาดโอกาสในการใช้อำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่ แต่ทุกอย่างบนโลกไม่มีอะไรหรอกที่จะสมบูรณ์ทุกอย่าง ดิฉันเชื่อว่าถ้าหากอำนาจทั้ง 3 ร่วมมือกัน ความมั่นคงของประเทศก็พึงมีอย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น